วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553


ผลไม้.......ยาจากธรรมชาติ

วิตามิน และแร่ธาตุที่ร่างกายเราได้รับจากการกินผลไม้เข้าไปทุกว้น เปรียบเหมือนสารหล่อลื่น
ที่ทำให้เครืืองยนต์ หรือ กระบวนการต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ

นอกจากนั้น ผลไม้ทุกชนิดยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและสารพฤกษเคมีสำคัญ
หลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ หรือ แอนติออกซิแดนท์ ( Antioxidant )
ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ อีกทั้งยังช่วยชะลอความชราได้อีกด้วย

"บ้านเราเป็นประเทศที่โชคดีทีเดียว มีผลไม้มากมายหลายชนิดให้เลือกซื้อรับประทาน
แทบทุกฤดูกาลจากทุกภูมิภาคเลยก็ว่าได้ นี่ยังไม่รวมแอ๊ปเปิ้ลเมืองจีน องุ่นแดงแคลิฟอร์เนีย
และผลไม้อิมพอร์ตทั้งหลาย


"พอเรามีตัวเลือกมากขึ้น หลายคนจึงหลงลืมผลไม้สัญชาติไทยในสวนหลังบ้านอย่าง
มะเฟือง ทับทิม มะยม มะขามป้อม ไปเสียถนัดใจ ทั้งที่ผลไม้เหล่านี้มีสรรพคุณทางยาที่
เราสามารถนำมารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ มากมาย และหาได้ใกล้ตัว "

ผลไม้ไทย........ยาใกล้ตัว

1 มะเฟือง ( Starfruit )
นอกเหนือจากความสวยงามแปลกตาในเรื่องรูปทรงแล้ว ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ
มะเฟื่องสุก ยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และแคลเซี่ยม ช่วยรักษาอาการ
เลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแ้ก้ท้องผูก ช่วยขับเสมหะได้



ในด้านสมุนไพร เราสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของมะเฟืองมารักษาโรคได้ดังต่อไปนี้

ผล คั้นเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ไข้หวัด บรรเทาอาการนิ่ว
ในทางเดินปัสสาวะ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ


ช่วยลดอาการร้อนใน ช่วยขจัดรังแค นอกจากนั้นน้ำคั้นจากผลมะเฟื่องยังใช้ลบ
รอยเปื้อนบนมือ เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ ไ้ด้ดีอีกด้วย

ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำ กินแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับระดู หรือหากนำมาบดให้ละเีอียด
พอกบนผิวหนัง จะช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวบ แก้ผื่นคัน กลากเกลื้อน และอีสุกอีใส
ราก มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ต้มกับน้ำ่ช่วยดับพิษร้อน แำก้อาการปวดศรีษะ
ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ปวดแสบในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง

ดอก นิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อช่วยในการขับพิษและขับพยาธิ
เครติด:http://http://secreta.doae.go.th/html/page47.htm

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติอาหารไทย





อาหารไทย เป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัวการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆก็ไม่เหมือนกันผู้ประกอบอาหารไทยต้องศึกษาจากตำราอาหารไทยและผู้เชี่ยวชาญการทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ตลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถัน ประณีต มีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทาน
อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษ
โดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนัก โดยเฉพาะทุกครัวเรือนของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นพริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอม ตลอด จนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหารจำพวกผัก และเนื้อสัตว์ นานาชนิด เพราะมีวิธีนำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น แกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลใน การปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่ อดีต อาทิ การนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือ ชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิด

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตำนานดอกกุหลาบ


ตำนานดอกกุหลาบ
กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย
ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย
ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดิจีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน ชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมากถึงจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้ว ยังลงทุนสร้างเนอร์สเซอรี่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย สำหรับชาวโรมันแล้วเรียกได้ว่าดอกกุหลาบมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน เพราะชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญ เป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกุหลาบยังใช้ทำเป็นยาได้อีกด้วย
กุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความโรแมนติก ซึ่งมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงาม และความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม
บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง
กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ

ตำนานดอกกุหลาบในเมืองไทย
กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ" ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก
กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า

สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา

กุหลาบขาว กับ กุหลาบแดง สีไหนเกิดก่อน ?
มีหลายตำนานเล่าถึงการเกิดกุหลาบสีขาวและกุหลาบสีแดงไว้แตกต่างกัน ตำนานหนึ่งเล่าว่า กุหลาบขาว เกิดขึ้นก่อน กุหลาบแดง เดิมทีมีนกไนติงเกลตัวหนึ่งมาหลงรักเจ้าดอกกุหลาบขาวแสนสวย ขณะที่มันกำลังจะโอบกอดดอกกุหลาบด้วยความรักนั้นเอง หนามกุหลาบก็ทิ่มแทงที่หน้าอกของมัน หยดเลือดของเจ้านกไนติงเกลเลยทำให้ดอกกุหลาบสีขาวกลายเป็นสีแดง เลยมีดอกกุหลาบสีแดงนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนอีกตำนานหนึ่งก็เล่าว่ากุหลาบสีแดงใน สวนอีเดน เกิดจาการจุมพิตของ อีฟ เจ้าดอกกุหลาบขาวที่หญิงสาวจุมพิต เลยเกิดอาการขวยเขินจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง
นอกจากนี้ ความหมายของความรักในศาสนาคริสต์ ถือว่ากุหลาบสีขาวแทนความบริสุทธิ์ของ พระแม่มาเรีย และกุหลาบสีแดงเกิดจากหยาดพระโลหิตของ พระเยซูเจ้า เมื่อถูกสวมมงกุฎหนาม มันจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกาศศาสนาที่พลีชีพเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

สีกุหลาบสื่อความหมาย
ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังนี้
•สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ
•สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์
•สีขาว สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง
•สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ
•สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
•กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย

www.googtle.com

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเภทของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อ
ระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
อุปกรณ์มีราคาถูกการติดตั้งง่ายการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่ายข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที
2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
1. ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2. การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
3. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up
3.การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
1. ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
2. บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3. การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
4. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
4.การเชื่อมต่อแบบ Cable เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1. ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
2. ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้ ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5.?การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
1. จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
2. ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
1. ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
2. ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
3. ค่าใช้จ่ายสูง
www.google.com

ประวัติความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ต


พ.ศ. 2510 เป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตั้งเครือข่ายที่เรียกว่า ?อาร์ปาเน็ต (ARPANET หรือ Advanced Research Project Agency) เป็นเหตุผลทางทหารในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐกลัวว่ารัสเซียอาจยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุด ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นอัมพาต จึงได้ริเริ่มงานวิจัยเครือข่ายใหม่ซึ่งเป็น เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์
พ.ศ. 2512 โครงการอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ได้เริ่มงานวิจัยในเดือนมกราคมในรูปแบบที่ไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) โดยตรง แต่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ที่เชื่อมถึงกันด้วยสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะแต่ละ IMP สามารถเชื่อมต่อได้หลายโฮสต์ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512
ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาบารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีโฮสต์ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า ?แพ็กเก็ตสวิตชิง? (packet Switching) พ.ศ. 2515 เครือข่าย ARPANET ได้ขยายไปสู่สถาบันต่าง ๆ ถึงกว่า 50 แห่ง เพื่อใช้ในการค้นคว้าและวิจัยทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบได้พ.ศ. 2525 ได้มีการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ ARPANET ได้วางรากฐานให้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ และถือเป็นมาตรฐานที่เป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
พ.ศ. 2527 มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันถึง 1,000 เครื่อง โดยขยายการเชื่อมต่อเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนด้วย
พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ของ ARPANET มาใช้เพื่อเชื่อมหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ เข้ากับศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นที่มาของ ?เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หรือ CSnet พ.ศ. 2532 มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตมากถึง 10,000 เครื่อง จึงได้มีการขนานนามใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)

ประวัติพระครูนิวาสธรรมขันธ์

เกิดและเยาว์วัยหลวงพ่อเดิม เกิดที่บ้านหนองโพ เมื่อวันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก (๑) จุลศักราช ๑๒๒๒ ตรงกับวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓ โยมบิดาชื่อเนียม เป็นชาวบ้านเนินมะกอก อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โยมมารดาชื่อภู่ เป็นชาวบ้านหนองโพ โดยเหตุที่เป็นลูกคนแรกของบิดามารดาปู่ย่าตายายจึงให้ชื่อว่า."เดิม" หลวงพ่อมีน้องร่วมบิดามารดาอีก ๕ คน คือ นางทองคำ คงหาญ ๑ นางพู ทองหนุน ๑ นายดวน ภู่มณี ๑ นางพัน จันทร์เจริญ ๑ และนางเปรื่อง หมื่นนราเดชจั่น ๑นางภู่ โยมมารดาหลวงพ่อ เป็นลูกนางสี และ นายนาค นางสีเป็นลูกนายเชียง นางแก้ว และนางแก้วเป็นหัวหน้าครอบครัวผู้หนึ่งในบรรดาบรรพบุรุษ ๗ ครัวเรือนที่อพยพมาตั้งบ้านหนองโพ(๑.) ท่านเจ้าของบอกว่า วันพุธ แรม ๑๓ เดือน ๓ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๒๒ แต่แรม ๑๓ ค่ำนั้นมิใช่วันพุธ เป็นวันศุกร์ ตรงกับวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓เมื่อหลวงพ่อเกิดนั้นหลวงพ่อเฒ่า (รอด)ได้ล่วงลับไปแล้ว และผู้ครองวัดหนองโพก็ผลัดเปลี่ยนสมภารสืบต่อกันมา ดังกล่าวในตำนานสังเขปท้ายเล่ม การศึกษาของหลวงพ่อเมื่อรุ่นเยาว์วัยก่อนอุปสมบทนั้น คงจะไม่ไต้เล่าเรียนอะไรเป็นชิ้นเป็นอันนัก ยิ่งเป็นลูกคนโตของพ่อแม่เช่นหลวงพ่อด้วย โอกาสที่จะได้เล่าเรียนอยู่วัดอยู่วาในสมัยอายุเยาว์วัยก็ย่อมมีน้อยที่สุด เข้าใจว่า หลวงพ่อเห็นจะไม่ได้เล่าเรียนอะไรเป็นล่ำเป็นสัน จึงไม่เคยได้ยินใครเล่าให้ฟังถึงการศึกษาของหลวงพ่อในสมัยเยาว์วัยต่อมาเมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง โทศก ตรงกับวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ โยมผู้ชายของหลวงพ่อได้พาไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุภาวะ ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะดีรี จังหวัดนครสวรรค์โดยมีหลวงพ่อแก้ววัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌายะ และหลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหานุศาสก์) วัดพระปรางค์เหลือง (๒) ตำบลท่าน้ำอ้อย กับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ตำบลสระทะเล เป็นคู่สวด เมื่ออุปสมบท พระอุปัชฌาย์ให้นามฉายาว่า “พุทฺธสโร”(๒.) หลวงพ่อเงินวัดพระปรางค์เหลืองนี้ต่อมาเป็นพระครูพยุหานุศาสก์ เจ้าคณะแขวงพยุหะดีรี จังหวัดนครสวรรค์ ประชากรนับถือกันว่าเป็นพระผู้เฒ่าที่มีคาถาอาคมขลัง และมีชื่อเสียงทางรดน้ำมนต์เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลนครสวรรค์ขึ้นไปตามลำน้ำเจ้าพระยาได้เสด็จขึ้นแวะเยี่ยมและโปรดให้หลวงพ่อเงินรดน้ำมนต์ถวายเมื่อวันที่ ๑๑ สิงนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ (ดู - จดหมายเหตุเรื่องเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕ ครั้งที่ ๒)ครั้นอุปสมบทแล้วก็มาอยู่วัดหนองโพ และได้เริ่มเล่าเรียนศึกษาเป็นจริงเป็นจังในระยะนี้เพราะเหตุที่หลวงพ่อไม่มีโอกาสได้อยู่วัดอยู่วาเล่าเรียนศึกษากับพระมาตั้งแต่เยาว์วัย เหมือนกุลบุตรทั้งหลายโดยทั่วไปในสมัยนั้นความรู้ในวิชาหนังสือและวิทยาการต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติกุลบุตรอื่นๆ ที่เคยเป็นศิษย์วัด เมื่อระยะเด็กเขาศึกษาเล่าเรียนกันมาแต่ก่อนบวช หลวงพ่อต้องมาเล่าเรียนเอาเมื่อตอนอุปสมบทแล้วแทบทั้งนั้น แต่หลวงพ่อเป็นคนมีมานะพากเพียรเป็นยอดเยี่ยม หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า “ท่านมีนิสัยจะทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ คิดอะไรไม่ได้เป็นไม่ยอมหยุดคิด คิดมันไปจนออกจนเข้าใจ ดูอะไรไม่ได้เรื่องไม่ได้ความ ก็คิดค้นมันไปจนแตกฉาน” พออุปสมบทแล้ว หลวงพ่อก็ตั้งต้นศึกษาความรู้เป็นการใหญ่ เมื่อมาจำพรรษาอยู่ในวัดหนองโพตลอดเวลา ๗ พรรษาแรกได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและท่องคัมภีร์วินัย ๑๐ ผูก (๓) กับหลวงตาชม ซึ่งเป็นผู้ครองวัดหนองโพอยู่ในเวลานั้น และศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและวิชาอาคมกับนายพัน ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณอยู่ในบ้านหนองโพ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นเล็กของหลวงพ่อเฒ่าและยังมีชีวิตอยู่ในสมัยนั้น (๓.) คัมภีร์วินัย ๑๐ ผูก นั้นคือ หนังสือที่ต่อมาได้ตีพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มเรียกชื่อว่า บุพพสิกขาวรรณนา ของพระอมราภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาสภายหลังเมื่อนายพันถึงมรณกรรมแล้ว ได้ไปจำพรรษาและศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ณ วัดบ้านบน ตำบลม่วงหัก อำเภอพยุหะดีรี จังหวัดนครสวรรค์ อยู่วัดบ้านบน ๒ พรรษา ในตอนนี้หลวงพ่อก็หาโอกาสไปเรียนและหัดเทศน์กับพระอาจารย์นุ่ม วัดเขาทอง และไปมอบตัวเป็นศิษย์เรียนข้อธรรมและวินัยกับอาจารย์แย้ม ซึ่งเป็นฆราวาสและอยู่ที่วัดพระปรางค์เหลืองด้วย จนนับว่าเป็นผู้มีความรู้แตกฉานพอแก่สมัยนั้นก็เริ่มเป็นนักเทศน์เป็นนักเทศน์เล่ากันมาว่า หลวงพ่อเคยเทศน์เก่ง ทั้งเทศน์คู่และเทศน์เดี่ยว ฉลาดในการวิสัชนาปัญหาธรรม และเข้าใจแยกแยะให้อรรถาธิบายข้อธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย จนปรากฏว่าในครั้งนั้นมีคนชอบนิมนต์หลวงพ่อไปเทศน์กันเนื่องๆ พูดกันจนถึงว่า พอเทศน์ในงานนี้จบ ก็มีคนเข้าไปประเคนพานหมากนิมนต์ไปเทศน์ในงานโน้นอีก ติดต่อกันไปหลวงพ่อเป็นนักเทศน์อยู่หลายปี แต่แล้วหลวงพ่อก็เลิกเทศน์ เหตุที่เลิกเทศน์นั้น เพราะหลวงพ่อปรารภว่า “มัวแต่ไปเที่ยวสอนคนอื่น และเอาสตางค์เขาเสียอีกด้วย ส่วนตัวเองไม่สอนสักที ต่อไปนี้ต้องสอนตัวเองเสียที” ต่อแต่นั้นมาก็เลิกเทศน์เป็นเด็ดขาด แม้จะมีใครมานิมนต์เทศน์อีกหลวงพ่อก็ไม่รับนิมนต์ ถ้าเจ้าของงานต้องการจะได้พระเทศน์จริง ๆ หลวงพ่อก็ระบุให้ไปนิมนต์พระภิกษุรูปอื่นไปเทศน์แทน แต่ถ้าเป็นธรรมสากัจฉา หลวงพ่อก็ชอบฟัง และถ้าปัญหาธรรมที่หยิบยกขึ้นมาวิสัชนากันนั้น แก้ไขกันไม่แจ่มแจ้งหลวงพ่อก็ช่วยวิสัชนาแยกแยะอรรถาธิบายให้แจ่มแจ้งจนคลายข้อกังขาเมื่อเลิกเป็นนักเทศน์แล้วในพรรษาที่ ๙ - ๑๐ และ ๑๑ หลวงพ่อได้ไปเรียนทางวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหานุศาสก์) วัดพระปรางค์เหลือง อำเภอพยุหะดีรี จังหวัดนครสวรรค์ เรื่องเรียนวิปัสสนากรรมฐานนั้น หลวงพ่อปฏิบัติจริงจังตลอดมา ท่านนั่งตัวตรงตามหลักพระบาลีที่ว่า “นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา - นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติกำหนดอารมณ์ไว้เฉพาะหน้า” หลวงพ่อนั่งตัวตรงเสมอมาจนอายุ ๙๐ เศษ ก็ยังนั่งตัวตรง (ดูรูป)เรียนวิชาอาคมโดยเหตุที่หลวงพ่อได้เคยเรียนวิชาอาคมมากับนายพัน ตั้งแต่เริ่มอุปสมบทในพรรษาแรก ๆ บ้างแล้ว ในตอนนี้ก็ปรากฏว่าได้เรียนและหัดทำอีก แต่หลวงพ่อจะไปศึกษาเล่าเรียนมาจากสำนักของอาจารย์ใดบ้าง ไม่ทราบได้ตลอด เท่าที่ทราบกันบ้างก็ว่า หลวงพ่อได้เรียนกับนายสาบ้าง ไปเรียนกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล บ้าง ไปเรียนกับหลวงพ่อวัดเขาหน่อ ตำบลบ้านแดน อำเภอบรรพตพิสัยจังหวัดนครสวรรค์บ้าง เวทย์มนต์คาถาหรือวิทยาอาคมแต่ก่อนๆ มาก็นิยมกันว่า สามารถปลุกเสกให้มีเสน่ห์มหานิยมหรืออยู่ยงคงกระพันชาตรี หรือขับไล่ภูตผีปีศาจ หรือทำให้เกิดอำนาจเกิดอิทธิฤทธิ์ขึ้น และทำความศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อย่างที่เรียกว่าปาฏิหาริย์ เป็นของที่นิยมและเชื่อกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ดังจะเห็นได้ในหนังสือเกี่ยวกับเรื่องโบราณ มีปฐมสมโพธิ เป็นต้น การเรียนและฝึกหัดทำเวทย์มนต์คาถาวิทยาอาคมเหล่านี้ เรียกกันว่า เรียนวิชา หรือเรียนคาถาอาคม แต่โบราณมาก็สืบเสาะแสวงหาที่ร่ำเรียนกับพระอาจารย์ตามวัด ดังจะเห็นได้จากเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เป็นต้นปรากฏว่า หลวงพ่อ “ทำวิชาขลัง” จนเป็นที่เลื่องลือท่านผู้อ่านบางท่านจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม แต่เห็นจะมีผู้รู้ผู้เห็น “ความขลัง” ของหลวงพ่อประจักษ์แก่ตาและแก่ตนเอง แล้วเล่ากันต่อๆ ไป จนเป็นที่ประจักษ์แก่หูอยู่เป็นอันมาก จึงปรากฏว่าประชาชนทั้งชาวบ้านและข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดที่ใกล้เดียงตลอดไปจนจังหวัดที่ห่างไกลบางจังหวัด พากันไปมอบตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อมากมาย ขอให้หลวงพ่อรดน้ำมนต์บ้าง ขอวิชาอาคมบ้าง ขอแป้งขอผงบ้าง ขอน้ำมันบ้าง ขอตะกรุดบ้าง ขอผ้าประเจียดบ้าง ขอรูปและอื่นๆ บ้าง จากหลวงพ่อ และที่แพร่หลายที่สุดก็คือ ขอแหวนเงินหรือนิเกิลลงยันต์ มีรูปหลวงพ่อนั่งขัดสมาธิที่หัวแหวนต่อมาเมื่อสมัยสงครามมหาอาเซียบูรพา มีประชาชนพากันไปหาหลวงพ่อ วันละมากมาก นอกจากขอของขลังเช่นกล่าวแล้ว ยังพากันหาซื้อผ้าขาวผ้าแดง ผืนหนึ่ง ๆ ขนาดกว้างยาวราว ๑๒ นิ้วฟุต เอาน้ำหมึกไปทาฝ่าเท้าหลวงพ่อ แล้วยกขาของท่านเอาฝ่าเท้ากดลงไปให้รอยเท้าติดบนแผ่นผ้า บางคนก็กดเอาไปรอยเท้าเดียว บางคนก็กดเอาไปทั้งสองรอย แล้วก็เอาผ้าผืนนั้นไปเป็นผ้าประเจียดสำหรับคุ้มครองป้องกันตัว ฝ่าเท้าของหลวงพ่อต้องเปื้อนหมึกอยู่ตลอดทุกวัน หลวงพ่อเคยบ่นกับผู้เขียนในเวลาลับหลังเขาว่า “มันทำกูเป็นหนูถีบจักร เมื่อยแข้งเมื่อยขาไปหมด” ในเวลามีงานนักขัตฤกษ์ที่วัดหนองโพ หรือที่วัดอื่นๆ ซึ่งเขานิมนต์หลวงพ่อไปเป็นประธานของงาน มักจะมีประชาชนมาขอแป้งขอน้ำมนต์น้ำมันและของขลังต่าง ๆ กันเนื่องแน่นมากมาย ที่ก้มศีรษะมาให้หลวงพ่อเสกเป่าหัวให้ก็มี ที่ขอให้ถ่มน้ำลายรดหัวไม่น้อย ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อคราวทำศพหลวงน้าสมุห์ชุ่ม ที่วัดหนองโพ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๑ มีผู้คนมาในงานศพนั้นมากมาย และพากันไปนั่งล้อมหลวงพ่อ ขอ “ของขลัง” บ้าง ให้เป่าหัวให้บ้าง ให้ถ่มน้ำลายรดหัวบ้าง ครั้นค่อยเบาบางผู้คน หลวงพ่อก็ให้ศิษย์ช่วยพยุงตัวพาลุกหนีออกมากุฏิของท่าน แล้วมาคุยกับผู้เขียนซึ่งกำลังนั่งคุยกันอยู่ที่ชานหน้ากุฏิอีกหลังหนึ่งและตั้งอยู่ห่างจากกุฏิหลวงพ่อ พอปูอาสนะถวาย หลวงพ่อก็นั่งลงแล้วบ่นว่า “เดี๋ยวคนนั้นให้ถ่มน้ำลายใส่หัว เดี๋ยวคนให้เป่าหัว จนคอแห้งผากไม่มีน้ำลายจะถ่ม เล่นเอาจะเป็นลมเสียให้ได้” แต่พอหลวงพ่อมานั่งคุยอยู่ได้สักประเดี๋ยวก็มีคนตามมาขอให้ทำอย่างนั้นอีก หลวงพ่อก็ทำให้อีก ไม่เห็นแสดงอาการเบื่อหน่ายระอิดระอา เมื่อพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหม่ๆ ไปขอเรียนคาถาอาคมกับหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาบอกให้แล้วเตือนว่า “เรียนไว้เถอะดี แต่ต่อไปจะคิดถึงตัว” เห็นจะหมายความว่า เมื่อทำว่าได้ขลังขึ้นแล้ว ถูกประชาชนรบกวนเหมือนอย่างที่หลวงพ่อประสบอยู่จนตลอดชีวิตของท่านแต่ก็สังเกตเห็นตลอดมาว่า หลวงพ่อทำให้เขาด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส เห็นจะปลงตกประหนึ่งถือเป็นหน้าที่จะต้องทำให้เขาทั่วหน้ากัน เพราะหลวงพ่อเป็นผู้มีอัธยาศัยกว้างขวางและต้อนรับปฏิสันถารดี โอภาปราศรัยเหมาะแก่บุคคลและกาลเทศะ ไม่มากไม่น้อย ประกอบกับท่านมีรูปร่างสูงใหญ่ และมีอิริยาบถเป็นสง่า จึงเป็นที่น่าเคารพยำเกรงของคนทั่วไปกิตติคุณในเรื่อง “วิชาขลัง” ของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันแพร่หลายมานานหนักหนา มีเรื่องเล่ากันต่างๆ หลายอย่างหลายเรื่อง ถ้าจะจดลงไว้ก็จะเป็นหนังสือเล่มใหญ่ ผู้เขียนเคยได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เป็นเด็ก ครั้นเมื่อมีอายุมากขึ้น คราวหนึ่งเมื่อมีโอกาสจึงกราบเรียนถามหลวงพ่อตรงๆ ว่า “มีดีจริงอย่างที่เขาเลื่องลือกันหรือขอรับ ?” ท่านก็ยิ้มแล้วตอบว่า “เขาพากันเชื่อถือกันว่าอย่างนั้นดี มาขอให้ทำก็ทำให้” ฟังดูเหมือนหลวงพ่อทำให้ตามใจผู้ขอ เมื่อเขาต้องการ ท่านก็ทำให้ ผู้เขียนจึงกราบเรียนต่อไปว่า “คาถาแต่ละบทดูครูบาอาจารย์แต่ก่อน ท่านก็บอกฝอยของท่านไว้ล้วนแต่ดีๆ บางบทก็ใช้ได้หลายอย่างหลายด้าน จะเป็นจริงตามนั้นบ้างไหม ?” หลวงพ่อได้ไปรดชี้แจงอย่างกลางๆ เป็นความสั้นๆ ว่า “ของจริง รู้จริง เห็นจริง ย่อมทำได้จริง” ครั้นผู้เขียนได้ฟังอย่างนี้ ก็มิได้กราบเรียนซักถามหลวงพ่อต่อไป แต่หลวงพ่อได้เมตตาบอกคาถาให้จดมา ๗ บท ขอนำมาพิมพ์ไว้ต่อท้ายประวัติของหลวงพ่อนี้สันโดษ และ พากเพียรหลวงพ่อมีนิสัยสันโดษ จนบางคราวเห็นได้ว่ามักน้อย และมีความพากเพียรพยายาม สบงและจีวรที่นุ่งห่มก็นิยมใช้ของเก่า จะได้เห็นหลวงพ่อนุ่งห่มสบงจีวรใหม่ ก็ต่อเมื่อมีผู้ศรัทธาถวายให้ครองในกิจนิมนต์ หลวงพ่อจึงครองฉลองศรัทธา ถ้าเป็นไตรจีวรแพร ครองแล้วกลับมาจากที่นิมนต์ก็มอบให้พระภิกษุรูปอื่นไป ข้าวของที่มีผู้ถวาย ถ้ามีประโยชน์แก่พระภิกษุรูปอื่นๆ หลวงพ่อก็ให้ต่อไป ของสิ่งใดที่มีผู้ถวายไว้ ถ้ามีใครอยากได้แล้วออกปากขอ หลวงพ่อก็ให้ แต่เมื่อหลวงพ่อบอกให้แล้ว ผู้ขอต้องเอาไปเลยทีเดียว ถ้ายังไม่เอาไปและทิ้งไว้ หรือฝากไว้กับหลวงพ่อ เมื่อมีใครมาเห็นในภายหลังและออกปากขออีก หลวงพ่อก็ให้อีก เมื่อผู้ขอภายหลังเอาไปแล้วผู้ขอก่อนมาต่อว่าว่าให้ผมแล้วเหตุใดจึงให้คนอื่นไปเสียอีก หลวงพ่อจะตอบว่า ก็ไม่เห็นเอาไป นึกว่าไม่อยากได้ จึงให้คนที่เขาอยากได้กุฏิที่มีผู้สร้างถวายดี ๆ มีฝารอบชอบชิด หลวงพ่อก็ไม่ชอบอยู่ ชอบอยู่ในศาลาซึ่งมีแต่ฝาลำแพนบังลมในบางด้าน ต่อมาเมื่อหลวงพ่อมีอายุล่วงเข้าวัยชรามากแล้ว บรรดาศิษยานุศิษย์จึงช่วยกันรื้อศาลาหลังนั้นไปปลูกไว้ ณ ป่าช้าเผาศพ ทางทิศตะวันออกของวัดหนองโพ แล้วสร้างกุฏิมีฝารอบขอบชิดขึ้นแทนในที่เดิม ถวายให้เป็นที่อยู่ของหลวงพ่อต่อมา จนถึงวันมรณภาพณ ศาลาหลังที่รื้อไปนั้น เมื่อผู้เขียนเป็นเด็กวัด เคยไปนอนอยู่ปลายตีนเตียงนอนปลายเท้าของหลวงพ่อ ครั้นตื่นขึ้นตอนเช้ามืด ราวตี ๔ ตี ๕ ก็เห็นหลวงพ่อจุดเทียนอ่านหนังสือคัมภีร์ใบลานสั้นๆ เสมอ เคยสอบถามศิษย์รุ่นเก่าก็เล่าตรงกันว่า เคยเห็นหลวงพ่อลุกขึ้นจุดเทียนอ่านหนังสือเช้ามืดอย่างนี้ตลอดมา แม้จะไปนอนค้างอ้างแรมในดงในป่า หลวงพ่อก็จุดเทียนอ่านหนังสือในตอนเช้ามืดเช่นนั้นเป็นนิตย์ ผู้เขียนอยากรู้ว่าหนังสือนั้นเป็นเรื่องอะไร ไม่รู้จนแล้วจนรอด เพราะหลวงพ่อมักจะเอาติดตัวไปไหนมาไหนด้วยเสมอ เวลาท่านอยู่ ไม่มีศิษย์คนใดกล้าไปขอดู หรือเรียนถามว่าเป็นหนังสืออะไร มาจนหลวงพ่อมรณภาพแล้ว เมื่อผู้เขียนขึ้นไปนมัสการศพหลวงพ่อจึงให้ค้นดู ปรากฏว่าเป็นหนังสือปฤศนาธรรม สำนวนเก่ามาก คัมภีร์หนึ่งมี ๖๒ ลาน เรียกว่า มูลกัมมัฏฐานและทางวิปัสสนา อีกคัมภีร์หนึ่ง มี ๑๖ ลาน เรียกว่า พระอภิธรรมภายใน ตลอดอายุของหลวงพ่อเห็นจะอ่านคัมภีร์ทั้งสองนั้นตั้งหลายพันครั้งชอบเลี้ยงสัตว์พาหนะหลวงพ่อชอบเลี้ยงสัตว์พาหนะ ตอนแรกๆ ได้เลี้ยงวัวขึ้นไว้ฝูงใหญ่ แล้วภายหลังได้ยกให้นายต่วน คงหาญ ผู้เป็นหลานชายไป สัตว์ที่ชอบเลี้ยงเป็นประจำก็คือช้างและม้า เรื่องเลี้ยงช้างนั้นมิใช่แต่ชอบเลี้ยงอย่างว่าพอมีช้างเท่านั้น หลวงพ่อได้ศึกษาวิชาการช้างจนถึงร่วมกับหมอข้างไปโพนจับช้างป่าด้วย หลวงพ่อเคยมีช้างหลายเชือก ทั้งช้างงาและช้างสีดอ ตายแล้วก็หามาเลี้ยงไว้ใหม่ แม้จนเวลามรณภาพก็ยังมีอยู่อีก ๓ เชือก แต่ได้ยกมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้คนไว้แล้วก่อนท่านถึงมรณภาพ สัตว์พาหนะที่หลวงพ่อชอบเลี้ยงไว้ก็เพื่อใช้เป็นพาหนะสำหรับบรรทุกและลากเข็นทัพพสัมภาระ ในการก่อสร้างถาวรวัตถุ และใช้ในการมหกรรมเครื่องบันเทิงของชาวบ้านในท้องถิ่นด้วย ดังจะเห็นได้ในเมื่ออ่านประวัติของหลวงพ่อต่อไป แม้หลวงพ่อจะชอบเลี้ยงช้างก็จริง แต่ก่อนไม่เคยเห็นท่านขี่ช้าง มาขี่ตอนหลังเมื่ออายุหลวงพ่อล่วงเข้าวัยชรามากแล้ว แต่ก่อนหลวงพ่อชอบเดินและเดินทนเดินเร็วเสียด้วย เรื่องเดินของหลวงพ่อนี้บรรดาศิษย์ตั้งแต่รุ่นก่อนๆ มาจนถึงรุ่นหลังๆ ที่เคยติดตามหลวงพ่อ ต่างระอาและเกรงกลัวไปตาม ๆ กันบางคนเดินทางไปกับหลวงพ่อครั้งเดียวก็เข็ด เพราะหลวงพ่อเดินตั้งครึ่งวันค่อนวัน ไม่หยุดพักและเดินเร็ว สังเกตดูก็เห็นก้าวช้า ๆ จังหวะก้าวเนิบ ๆ คล้ายกับช้างเดิน แต่คนอื่นต้องรีบสาวเท้าตาม ผู้เขียนเองเมื่อเป็นเด็กเคยสะพายย่ามตามหลัง ถึงกับต้องวิ่งเหยาะ และถ้ามัวเผลอเหม่อดูอะไรเสียบ้างก็ทิ้งจังหวะไกลจนถึงต้องวิ่งตามให้ทันเป็นคราว ๆ เรื่องเดินทน ไม่หยุดพักของหลวงพ่อนั่น ถึงกับเคยมีศิษย์บางคนที่ตามไปด้วยต้องออกอุบายเก็บหญ้าพุ่งชู้ตามข้างทาง เดินตามไปพลาง แล้วเอาหญ้าพุ่งชู้ขว้างให้ติดจีวรของหลวงพ่อไปพลาง จนเห็นว่าหญ้าติดจีวรมากแล้ว พอถึงที่มีร่มไม้ก็ออกอุบายเรียนขึ้นว่า “หลวงพ่อครับ หญ้าติดจีวรเต็มไปหมดแล้ว หยุดพัก เก็บหญ้าออกกันเสียทีเถอะ” จึงเป็นอันได้หยุดพักกันครั้งหนึ่งชอบค้นคว้าทดลองหลวงพ่อมีนิสัยชอบศึกษาและค้นคว้าทดลอง การค้นคว้าทดลองของหลวงพ่อนั้นมีหลายเรื่อง ขอนำมาเล่าแต่บางเรื่อง เช่นคราวหนึ่งได้ประดิษฐ์สร้างเกวียนให้เดินได้เองโดยไม่ต้องใช้แรงวัวหรือแรงควายเทียมลาก เรียกของท่านว่าเกวียนโยก เมื่อสร้างขึ้นแล้วก็โยกให้เดินได้คล่องแคล่วดี แต่เดินได้แต่รุดหน้า เลี้ยวไม่ได้ จะได้พยายามแก้ไขอย่างไรอีกหรือเปล่าไม่ทราบได้ แต่ไม่ช้าก็เลิกไป ตามปรกติชาวบ้านเขาสร้างเกวียนวัวเกวียนควายใช้กัน แต่หลวงพ่อสร้างเกวียนช้างคือใช้ช้างเทียมลาก แต่เกวียนช้างที่หลวงพ่อสร้างขึ้นครั้งแรกนั้น ไม่สำเร็จประโยชน์ดังประสงค์ เพราะเมื่อบรรทุกแล้ว พื้นดินทานน้ำหนักไม่ได้ กงล้อจมลงไปในพื้นดิน ต่อมาก็เลิก ครั้นมาเมื่อสมัยเริ่มแรกนิยมใช้รถยนต์บรรทุกกันตามหัวเมือง หลวงพ่อก็ซื้อรถยนต์ไปใช้ แต่รถยนต์สมัยนั้นแล่นไปได้แต่ตามทางเกวียนที่เรียบๆ เมื่อแล่นไปตามท้องนา ซึ่งมีคันนาและมีหัวขี้แต้ หรือในท้องที่ขรุขระ ก็แล่นไม่ได้ ต้องมีคนคอยบุกเบิกทาง เอาจอบสับเอาเสียมแซะและเอาขวานคอยฟันคอยกรานต้นไม้กิ่งไม้ตามทางที่รถยนต์จะผ่านไป ไม่ช้าหลวงพ่อก็เบื่อ ต่อมาก็เลิก แล้วหันกลับไปนิยมเลี้ยงช้างอย่างเดิม และคราวนี้ได้ประดิษฐ์สร้างเกวียนช้างขึ้นใหม่ แก้ไขจนใช้บรรทุกลากเข็นได้ประโยชน์ดีมากได้ใช้สำหรับเข็นลากไม้เสาและสัมภาระอื่นๆ ในการสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งเรียกว่า วัดหนองหลวง เพราะสร้างขึ้น ณ ที่ริมหนองน้ำชื่อนั้นนอกจากค้นคว้าในทางประดิษฐ์แล้ว ตำรับตำราที่ครูบาอาจารย์ทำไว้แต่ก่อน ๆ บางอย่างหลวงพ่อก็นำมาทดลองด้วย เช่นวิชาเล่นแร่ คือทำแร่ตะกั่วให้เป็นเงินและทำเงินให้เป็นทอง บรรดาลูกศิษย์รุ่นเก่าเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อพยายามทดลองค้นคว้าวิชาทำเงินให้เป็นทองอยู่หลายปี โดยมีลูกศิษย์เป็นลูกมือช่วยเผาถ่าน ช่วยสูบไฟและอื่นๆ แต่ตอนผสมส่วนของธาตุโลหะและผสมยาซัดนั้น เล่ากันว่าหลวงพ่อต้องทำเอง บรรดาศิษย์รุ่นเก่าเหล่านั้นเล่าตรงกันว่าหลวงพ่อพยายามทำเงินให้เป็นทองคำจนได้ ศิษย์รุ่นใหญ่ระบุ ทองที่หลวงพ่อทำได้และมอบให้กับศิษย์บางคน ซึ่งศิษย์ผู้นั้นได้เอาไปทำเครื่องประดับให้ลูกหลานสวมใส่อยู่ต่อมาเรื่องที่จะเลิกทำทองนั้น เล่ากันมาว่า วันหนึ่งหลวงพ่อถลุงเงินให้เป็นทอง หนักราวสัก ๑ บาท พอหลอมเสร็จเทออกมาจากเบ้าทิ้งไว้ให้เย็น เอาขึ้นทั่งแล้วก็เอาฆ้อนตีแผ่ออกเป็นแผ่นบาง แล้วก็เอาลงหลอมดูใหม่แล้วก็เอามาตีแผ่ดูอีก เข้าใจว่า หลวงพ่อคงตรวจตราพิจารณาดูว่าจะเป็นทองคำได้จริงหรือไม่ แล้วก็เอาลงเบ้าหลอมดูอีกและเทออกจากเบ้าทิ้งไว้ให้เย็นเป็นก้อนค่อนข้างกลม แล้วหลวงพ่อก็หยุดไปนั่งพักเฉยอยู่บนอาสนะเป็นเชิงตรึกตรอง ไม่พูดจาว่ากระไร บรรดาศิษย์ต่างก็หยิบมาดูกันคนละทีสองทีแล้วคนนั้นก็ขอ คนนี้ก็ขอ สักครู่หลวงพ่อก็ลุกเดินมาหยิบทองก้อนนั้นขึ้นไปถือกำไว้ในอุ้งมือแล้วก็เอามือไขว้หลังเดินไปบนคันสระลูกใหญ่ในวัดหนองโพ เอามือที่ถือก้อนทองเดาะเล่นกับอุ้งมือ ๒ - ๓ ครั้ง แล้วก็ขว้างก้อนทองนั้นลงสระน้ำไป พอเดินกลับมาถึงที่ถลุงทอง หลวงพ่อก็หยิบฆ้อนทุบเตา ทุบเบ้าถลุงแตกหมด แล้วก็เลิกเล่นเลิกทำแต่วันนั้นมารับสมณศักดิ์ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ เมื่อพระครูพยุหานุศาสก์ (สิทธิ์) วัดบ้านบน เจ้าคณะแขวงอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ ศ. ๒๔๕๗ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ “ให้เจ้าอธิการเดิม วัดหนองโพ เป็นพระครูนิวาสธรรมขันธ์ รองเจ้าคณะแขวงเมืองนครสวรรค์) (๔) เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เนื่องในงานเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ ๖ เวลานั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๕๕ ปี และมีพรรษา ๓๔ พรรษา ทั้งนี้ย่อมนำความปีติมาให้แก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอันมาก แต่ก็ยังพากันเรียกท่านด้วยความเคารพนับถือทั้งต่อหน้าและลับหลังว่าหลวงพ่อ อยู่อย่างนั้น เว้นแต่ศิษย์รุ่นผู้ใหญ่ จึงมักใช้สรรพนามเรียกหลวงพ่อว่า “ทาน” ส่วนประชาชนทั่วไปนั้นคงรู้จักกันแพร่หลาย โดยนามว่า “หลวงพ่อเดิม”(๔.) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ น ๒๓๔๒ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม พ ศ. ๒๔๕๗ เดี๋ยวนี้เรียกเจ้าคณะแขวงว่า เจ้าคณะอำเภอต่อมาทางการคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งหลวงพ่อเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และหลวงพ่อได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ หลวงพ่อก็ได้ปฏิบัติศาสนกิจในหน้าที่นั้นมาด้วยความเรียบร้อยตลอดเวลากว่า ๒๐ ปี เมื่อท่านล่วงเข้าวัยชรามากแล้ว ทางการคณะสงฆ์จึงได้เลื่อนหลวงพ่อขึ้นเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์สร้างถาวรวัตถุในวัดศาลาการเปรียญหลังแรก หลวงพ่อเดิมสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔หลวงพ่อมีนิสัยและมีฝีมือในการสร้าง ซึ่งหลวงพ่อได้ก่อสร้างสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา และที่เป็นสาธารณประโยชน์อื่นๆ ไว้มากมาย เมื่ออุปสมบทแล้วมาอยู่จำพรรษาในวัดหนองโพ ในพรรษาแรก ๆ นั้น หลวงพ่อก็เริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้นในวัดหนองโพ แล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ หลวงพ่อก็ปฏิสังขรณ์แก้ขยายขึ้นจากหลังที่หลวงพ่อสร้างไว้แต่ก่อนนั้นอีก ก่อนหน้านั้น เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๓๕ หลวงพ่อได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่ในวัดหลังหนึ่งเป็นกุฏิหลังแรกที่ใช้ฝาไม้กระดาน และชื้อมาจากบ้านบางไก่เถื่อน (ตำบลบ้านตลุก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท) เมื่อสร้างศาลาและกุฏิขึ้นใหม่ในวัดหนองโพครั้งนั้นบรรดาท่านผู้เฒ่าผู้แก่ปู่ย่าตายายของชาวบ้านหนองโพซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยนั้น ต่างออกปากชมกันว่า “ท่านองค์นี้ไม่ใช่ใครอื่นแล้ว คือหลวงพ่อเฒ่าเจ้าของวัดของท่านมาเกิด”โบสถ์วัดหนองโพ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ พร้อมด้วยทายกทายิกา สร้างขึ้น ณ ที่โรงอุโบสถเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘นอกจากศาลาการเปรียญและหมู่กุฏิ หลวงพ่อได้ร่วมกับทายกทายิกาชาวบ้าน สร้างโรงอุโบสถขึ้นในที่โรงอุโบสถเดิม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ และในคราวเดียวกันได้สร้างพระเจดีย์ ๓ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบไว้ตรงหน้าโรงพระอุโบสถด้วยนิสัยชอบก่อสร้างของหลวงพ่อนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นชีวิตจิตใจของหลวงพ่อติดต่อมาจนตลอดชีวิตโดยเหตุที่วัดวาอารามตามท้องถิ่นในสมัยนั้น มักมีแต่กุฏิสงฆ์และมีแต่ศาลาดิน คือใช้พื้นดินนั้นเองเป็นพื้นศาลา หลังคาก็มุงแฝก ไม่มีโบสถ์ หลวงพ่อจึงสร้างศาลาการเปรียญ เป็นศาลายกพื้น หลังคามุงกระเบื้อง และสร้างโรงอุโบสถก่ออิฐถือปูนและคอนกรีต ขึ้นเป็นถาวรวัตถุของวัด โบสถ์และศาลาการเปรียญที่หลวงพ่อสร้างขึ้น มักจะกว้างขวางใหญ่โตสำหรับท้องถิ่น จึงต้องใช้เงินทองและสิ่งของเครื่องใช้ในการก่อสร้างมาก วัตถุปัจจัยหรือเงินทองที่มีผู้ถวายหลวงพ่อเนื่องในกิจนิมนต์ก็ดี หรือถวายด้วยมีศรัทธาเลื่อมใสในตัวหลวงพ่อเองก็ดี หลวงพ่อมิได้เก็บสะสมไว้ หากแต่ได้ใช้จ่ายไปในการทำสาธารณประโยชน์และใช้เป็นทุนรอนในการก่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาและสถานศึกษาเล่าเรียน จนหมดสิ้น เห็นจะเป็นเพราะเหตุนี้ และเนื่องจากกิตติคุณทางวิทยาอาคมของหลวงพ่อด้วย จึงมักมีพวกทายกทายิกาช่วยกันเรี่ยไรรวบรวมทุนถวายให้หลวงพ่อทำการก่อสร้างอยู่เนือง ๆ วัดในตำบลใดต้องการจะสร้างหรือปฏิสังขรณ์โบสถ์วิหารหรือศาลาการเปรียญ ขึ้นเป็นถาวรวัตถุในวัด หรือเริ่มก่อสร้างปฏิสังขรณ์กันไว้แล้ว แต่ทำไม่เสร็จ เพราะขาดช่างและขาดทุนรอน ขาวบ้านสมภารวัดในตำบลนั้นๆ ก็มักพากันมานิมนต์หลวงพ่อ ให้ไปช่วยอำนวยการสร้าง หรือไปเป็นประธานในงานก่อสร้างปฏิสังขรณ์ หลวงพ่อก็ยินดีไปตามคำนิมนต์ และมิใช่แต่จะไปบงการให้คนอื่นทำเท่านั้น แต่หลวงพ่อได้ลงมือทำด้วยตนเองด้วย เช่น ถ้าเป็นเครื่องไม้ก็ลงมือกะตัวไม้ และถากไม้ฟันไม้ เลื่อยไม้ ด้วยตนเอง ถ้าเป็นเครื่องปูน ก็ลงมือตัดและผูกเหล็กโครงร่าง และผสมทรายผสมปูนเทหล่อด้วยตนเอง จนเป็นเหตุให้คนอื่นนั่งเฉยอยู่ไม่ได้ ทั้งชาวบ้านและชาววัดต่างก็พากันลงมือทำงานช่วยหลวงพ่อ บางรายหลวงพ่อก็ทำตั้งแต่ตัดไม้ ชักลาก ทำอิฐและเผาอิฐ เผาปูนมาทีเดียว ยิ่งเป็นการก่อสร้างในบ้านป่าขาดอนซึ่งห่างไกลเส้นทางคมนาคม กำลังผู้คนและพาหนะก็เป็นของจำเป็นยิ่งนัก แต่หลวงพ่อก็จัดสร้างให้สำเร็จจนได้คิดดูก็เป็นของน่าประหลาด ดูหลวงพ่อช่างมีอภินิหารในการก่อสร้างเสียจริง ๆ โบสถ์วิหารหรือศาลาการเปรียญ ที่หลวงพ่อไปอำนวยการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ หรือไปเป็นประธานในงานก่อสร้างหรือปฏิสังขรณ์นั้นๆ ย่อมสำเร็จเรียบร้อยทุกแห่ง ทุนรอนที่ขาดอยู่มากน้อยเท่าใด ก็มักมีผู้ศรัทธาบริจาคถวายให้จนครบ หรือบางแห่งบางรายก็เกินกว่าจำนวนที่ต้องการเสียอีก เมื่อเห็นมีคนชอบเอาเงินทองมาถวายหลวงพ่อเนือง ๆ และบางรายก็ถวายไว้มาก ๆ เสียด้วย ผู้เขียนเคยกราบเรียนถามว่า “หลวงพ่อทำอย่างไรจึงมีคนชอบนำเงินมาถวายเนือง ๆ ?” หลวงพ่อก็ยิ้มแล้วตอบว่า “ก็เราไม่เอานะสิ เขาจึงชอบให้ ถ้าเราอยากได้ใครเขาจะให้” บรรดาศิษย์รุ่นเก่า ซึ่งเคยติดลอยห้อยตามหลวงพ่อมาหลายสิบปี เช่น นายยิ้ม ศรีเดช มรรคนายกวัดหนองโพ ซึ่งเวลานั้นมีอายุกว่า ๘๐ ปี (บัดนี้ล่วงลับไปแล้ว) เคยปรารภว่า “เงินทองสัมผัสแต่เพียงตาของหลวงพ่อ ไม่กระทบเข้าไปถึงใจ” เงินทองที่มีผู้ถวายมากมายเท่าใดหลวงพ่อก็ใช้จ่ายไปในการก่อสร้างและทำสิ่งสาธารณประโยชน์ หมดสิ้นสิ่งก่อสร้างที่หลวงพ่ออำนวยการสร้าง หรือเป็นประธานในการก่อสร้าง และมีถาวรวัตถุเป็นพยานให้เห็นมากมายหลายแห่ง จนหลวงพ่อเองก็จำสถานที่และลำดับรายการไม่ได้ นอกจากจะมีใครถามขึ้น บางทีหลวงพ่อก็นึกได้สิ่งก่อสร้างและถาวรวัตถุที่หลวงพ่อสร้างขึ้นนี้ เห็นได้ว่าหลวงพ่อได้สร้างความเจริญให้เกิดขึ้นแก่ท้องถิ่นเหล่านั้น เพราะเท่ากับทำบ้านและตำบลนั้น ๆ ให้ตั้งอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง และมีถาวรวัตถุเป็นหลักฐานของหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นพยานยั่งยืนมั่นคงไปชั่วกาลนาน

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์

คนตัดไม้นั่งร้องไห้อยู่ริมลำธารเพราะทำขวานตกลงไป
เทพารักษ์สงสารจึงลงไปงมเอาขวานทองคำมาให้
คนตัดไม้เป็นคนซื่อจึงตอบว่าขวานทองนั้นไม่ใช่ของตน ครั้นเทพารักษ์งมเอาขวานเงินมาให้ เขาก็ไม่รับ
เทพารักษ์จึงงมเอาขวานเหล็กธรรมดาๆ มาให้ คนตัดไม้จึงดีใจ บอกว่าเป็นขวานของตน
เทพารักษ์ชื่นชมในความซื่อตรงของคนตัดไม้ จึงมอบ ขวานทองเเละขวานเงินให้เป็นของขวัญ
คนตัดไม้ดีใจ กลับบ้านไปเล่าให้เพื่อนฟัง
เพื่อนคนนั้นเป็นคนโลภ จึงรีบเข้าป่าไปตัดไม้เเล้วเเกล้ง ทำขวานตกลงไปในลำธารเพื่อให้เทพารักษ์มาช่วยบ้าง
เมื่อเทพารักษ์ปรากฏกายมาช่วยงมเอาขวานทองคำมาให้ ชายโลภก็รีบตอบรับว่านั่นคือขวานของเขา
เทพารักษ์กริ้วที่ชายผู้นั้นพูดเท็จเพราะโลภมากจึงไม่ยอมให้ ขวานทองคำเเก่เขา ปล่อยให้เขานั่งร้องไห้เลียดายขวานเหล็ก ตามลำพัง